Monday, September 16, 2013

ผลข้างเคียงของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่คุณไม่เคยทราบ



คุณเคยรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบ้างหรือไม่ และถ้าเคยคุณเคยทราบถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่อสุขภาพบ้างหรือไม่ ขอสักนิดอ่านบทความนี้ แล้วลองมาดูกันว่าผลข้างเคียงของผลิตภัณฑ์บางประเภทต่อสุขภาพที่คุณอาจเคย ใช้ อยากใช้ คิดจะใช้ เป็นเช่นไรบ้าง เป็นสิทธิผู้บริโภคที่จะรับรู้ทุกแง่มุมของสิ่งที่คิดจะรับประทาน

วิตามิน ซี (Ascorbic Acid)
  • หากได้รับวิตามิน ซี ในปริมาณสูง 1-3 กรัมต่อวัน ติดต่อกันหลายวัน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • การได้รับวิตามินซีในปริมาณสูง เพื่อหวังเสริมภูมิต้านทานและป้องกันโรค ยังไม่มีผลการวิจัยยืนยันที่ถือเป็นข้อสรุปได้ว่าทำได้จริง
  • ผลการวิจัยในหลอดทดลอง พบวิตามิน ซี อาจทำให้ดีเอ็นเอ ในเซลล์เป็นอันตราย

วิตามิน อี (Tocopherols)
  • ประโยชน์ของวิตามินอี ยังไม่พบแน่ชัด แต่ไม่มีพิษ หากรับประทานไม่เกิน 1000 หน่วยสากลต่อวัน
  • ภาวะการขาดวิตามินอี ยังไม่พบในคนสุขภาพปกติ เพราะวิตามินอี มีมากในอาหารที่คนรับประทาน จึงไม่จำเป็นต้องรับประทานวิตามินอีเสริม

วิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน
  • การบริโภควิตามินเอบางชนิดในรูปอาหารเสริม อาจทำให้ได้รับในปริมาณสูงเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดพิษในร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามข้อ ตับทำงานมากขึ้น ในหญิงตั้งครรภ์ อาจทำให้ทารกในครรภ์เกิดความผิดปกติ
  • มีรายงานว่า การรับประทานวิตามินเอ เสริม อาจทำให้กระดูกบางลงและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก
  • มีรายงานการวิจัยขนาดใหญ่ในฟินแลนด์พบว่า การใช้เบต้าแคโรทีน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด

ซีลีเนียม (Selenium)
  • ไม่ควรรับประทานซีลีเนียม เกินกว่า 400 ไมโครกรัม/วัน อาจเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
  • ยังไม่มีข้อมูลมากพอจะบอกว่าปริมาณซีลีเนียมเท่าไรจึงจะสามารถลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง


สังกะสี (Zinc)
  • การได้รับในปริมาณสูง (ประมาณ 25 มิลลิกรัม) สามารถขัดขวางการดูดซึมทองแดง


แคลเซียม (Calcium)
  • การได้รับแคลเซียมเกินขนาด อาจทำให้คลื่นไส้ ท้องผูก เฉื่อยชา และอาจสะสมทำให้เกิดนิ่วได้
  • ปริมาณสูงอาจยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กและสังกะสี

ซุปไก่สกัด
  • มีคุณค่าทางโภชนาการเพียงแค่ไข่ไก่ครึ่งฟอง
  • การบริโภคเนื้อสัตว์ที่ต้มหรือตุ๋นในระยะเวลานาน ทำให้ได้รับสารก่อมะเร็งกลุ่ม เฮ็ตเตอโรไซคลิก อะโรเมติกเอมีนมากกว่าปรกติ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลายอวัยวะ

โปรตีน (Protein)
  • การรับประทานอาหารโปรตีนสูง ร่างกายจะไม่ได้นำโปรตีนไปสร้างกล้ามเนื้อ แต่จะกำจัดออก เป็นการเพิ่มภาระให้กับตับและไตต้องทำงานหนักขึ้น
  • คนที่ลดน้ำหนักโดยการรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนสูง อาจเสี่ยงต่อภาวะโรคหัวใจ


สาหร่ายสไปรูไลน่า
  • ระวังภาวะเสี่ยงที่สาหร่ายอาจปนเปื้อนสารโลหะหนักและสารพิษอื่นๆ จากน้ำที่เพาะเลี้ยง
  • มีปริมาณกรดนิวคลิอีกสูง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเก๊าท์

รังนก
  • คุณค่าทางโภชนาการต่ำ แต่มีราคาสูง ได้ประโยชน์ต่อร่างกายไม่คุ้มค่าเงิน
  • ไม่เคยมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่า กินแล้วทำให้ผิวพรรณอ่อนวัย

การ์ซีเนีย (Garcinia)
  • ไม่มีหลักฐานการวิจัยที่ยืนยันชัดเจนว่า HCA สามารถช่วยลดน้ำหนักได้

น้ำมันปลา (Fish oil)
  • ในการทดลองพบผลเสียจากการรับประทานน้ำมันปลาคือ เกิดเลือดกำเดาไหลไม่หยุด อาจทำให้เกิดสภาวะขาดวิตามินอีได้ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อสารพิษตกค้าง เนื่องจากภาวะมลพิษทางทะเลในถิ่นที่ปลาซึ่งเป็นวัตถุดิบอาศัย
  • ขึ้นทะเบียนเป็นอาหาร หากจะบริโภคเพื่อการรักษาต้องรับประทานในปริมาณสูงมาก ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่อร่างกาย

อีฟนิ่ง พริมโรส (EPO)
  • มีรายงานผลข้างเคียงในผู้ป่วยโรคลมชัก

เลซิทิน (Lecithin)
  • คนปกติมักไม่ขาดเลซิติน การบริโภคในปริมาณสูง อาจทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ ท้องเสีย
  • เลซิติน จากพืชดีกว่าในสัตว์ เพราะเลซิตินจากพืชมีส่วนประกอบของกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว หากซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เลซิตินจากแหล่งวัตถุดิบที่เป็นสัตว์อาจได้รับกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณสูง ยิ่งทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับโคเลสเตอรอล


ใบแปะก๊วย (Ginkgo biloba )
  • -มีรายงานการวิจัยที่ขัดแย้งกันในเรื่องการรักษาผู้ป่วยสมองเสื่อม จึงยังไม่มีข้อสรุป ฤทธิ์ข้างเคียงของแปะก๊วย ในผู้ใช้บางราย คืออาการปวดศีรษะ ท้องไส้ปั่นป่วน
  • เกิดภาวะแทรกซ้อน เลือดไหลไม่หยุดในขณะผ่าตัด ในรายของผู้ป่วยที่รับประทานแปะก๊วยควบคู่ไปกับการรักษาโรคแผนปัจจุบัน

บุก
  • หากรับประทานกลูโคแมนแนนชนิดเม็ด ต้องดื่มน้ำตามให้มาก ๆ มิฉะนั้นจะเกิดเจลอุดตันในทางเดินอาหาร ทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อได้
  • การรับประทานอาหารไฟเบอร์ติดต่อกันนาน ๆ ส่งผลให้เกิดภาวะการขาดสารอาหารในร่างกายได้
  • ไม่มีรายงานว่าสามารถลดความเสี่ยงของมะเร็งในลำไส้ใหญ่

มะขามแขก (Senna)
  • ในการระบายของเสีย ร่างกายจะสูญเสียน้ำออกไป ไม่ใช่ไขมัน ดังนั้นน้ำหนักที่ลดลงคือ น้ำที่หายไป หลังจากดื่มน้ำกลับเข้าไปร่างกายจะกลับมาน้ำหนักเท่าเดิม
  • การใช้ยาระบายติดต่อกันเป็นประจำจะมีอันตรายทำให้ลำไส้บีบตัวเองไม่เป็น เกิดภาวะท้องผูกเรื้อรัง

กระเทียมอัดเม็ด
  • ผลการวิจัยในระยะหลัง พบว่า สารสกัดจากกระเทียม ในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ค่อยมีผลต่อการลดระดับของโคเลสเตอรอล หรือมีก็ในระดับที่น้อยมาก เนื่องจากปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือดถูกควบคุมด้วยปัจจัยมากกว่าหนึ่งปัจจัย
  • เกิดกลุ่มรณรงค์ในอเมริกายื่นคำร้องให้ อย.ของสหรัฐฯ สั่งห้ามบริษัทอาหารเสริมโฆษณาสรรพคุณของกระเทียมอัดเม็ดว่า ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลได้และช่วยทำให้หัวใจแข็งแรง

ที่มา Samunpai.com

No comments:

Post a Comment